ชั้นเก็บสินค้าอุตสาหกรรม (RACKING SYSTEM) เป็นอุปกรณ์สำคัญที่สุดในคลังสินค้า เพื่อให้ได้ประโยชน์สุงสุดในการใช้พื้นที่ในคลังสินค้า ความสะดวกในการทำงานและจัดเก็บสินค้า มีหลากหลายประเภท ดังนั้น การเลือกใช้ชั้นเก็บสินค้าอุตสาหกรรมควรเลือกให้เหมาะสมกับรูปแบบสินค้าที่ต้องการจัดเก็บ และควรออกแบบผังการติดตั้งให้เหมาะสมกับการทำงานในคลังสินค้า ด้วยเหตุนี้เราจึงควรคำนึงถึงปัจจัยสำคัญๆ หลายด้านด้วยกันในการเลือกและออกแบบคลังสินค้า

1. ชนิดของสินค้าที่จะจัดเก็บ เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการเลือกใช้ชั้นเก็บสินค้าประเภทใดมาใช้ในกิจกรรมการจัดเก็บ ชนิดสินค้า ขนาดสินค้า และน้ำหนักของสินค้า เป็นตัวกำหนดว่า จะใช้แผ่นพาเลทขนาดใด ชนิดใดมารองรับ และแต่ละพาเลทจะมีน้ำหนักสูงสุดเท่าไร

ชนิดสินค้า ยังเป็นตัวกำหนดในการเลือกสรรชนิดชั้นเก็บสินค้าด้วย เช่น สินค้าที่จะต้องเข้าก่อน-ออกก่อน หรือเข้าก่อน-ออกทีหลัง เป็นสินค้าชนิดเดียวกัน หรือสินค้าหลากหลายชนิด ต้องการเลือกเบิกจ่ายตลอดเวลาหรือไม่ ปริมาณสินค้ามีมากน้อยแค่ไหน ต้องการจัดเก็บบนชั้นวางเป็นจำนวนกี่พาเลท ต้องวางสูงแค่ไหน ใช้ชั้นวางทั้งหมดรองรับพาเลทกี่พาเลท

2. ชนิดของแผ่นพาเลท ขนาดของแผ่นพาเลท จะต้องเลือกให้สามารถรับน้ำหนักสูงสุดของสินค้าที่จะกองบนแผ่นได้ และต้องคำนึงถึงการวางบนคานชั้นวางว่า จะวางทางแนวกว้างหรือแนวแคบ ชนิดและขนาดของแผ่นพาเลทจะเป็นตัวกำหนดว่า ชั้นวางที่จะติดตั้ง ควรจะกว้างลึกเท่าไร ขณะเดียวกัน ก็เป็นตัวกำหนดรถยกที่จะใช้ว่า ต้องรับ น้ำหนักเท่าไร งาหน้ากว้างหรือแคบ ยกได้สูงเท่าไรจำนวนพาเลท จะเป็นตัวกำหนดว่า ควรจะเลือกชั้นวางแบบหนาแน่นเพียงใด และมีความสูงกี่ระดับชั้น

3. พื้นที่ของคลังสินค้า ลักษณะพื้นที่ของคลังสินค้า ก็เป็นอีกปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการขณะเลือกชั้นวาง ไม่ว่าจะเป็นทางเข้าออก ขนาดประตู ความสูงของเพดาน ขนาดความกว้างความยาว ซึ่งล้วนเป็นข้อจำกัดที่การติดตั้งชั้นวาง จะต้องอยู่ในขอบเขตของพื้นที่ดังกล่าว จะต้องคำนึงถึงความต้องการในการจัดเก็บ และการทำงานของรถยกที่จะวิ่งเข้าออกเวลาเบิกจ่าย

4. ชนิดรถยกที่จะใช้ รถยกจะต้องมีความสามารถในการยกน้ำหนัก load capacity เพียงพอกับน้ำหนักสูงสุดของสินค้าบนแพลเลท ขณะเดียวกัน ก็ต้องสามารถยกสูงได้ถึงชั้นวางสูงสุดที่จะติดตั้ง ไม่เพียงเท่านั้น สิ่งที่ต้องระวังก็คือ ต้องคำนึงถึงขนาดของตัวรถว่า สามารถกลับตัวเพื่อหันหน้าเข้าชั้นวางในขณะยกสินค้าขึ้นเก็บหรือเบิกจ่ายได้ด้วย นั่นคือ การติดตั้งชั้นวาง จะต้องจัดให้มีระยะความกว้างของทางวิ่งระหว่างชั้น เพียงพอกับรถดังกล่าวด้วย

5. ระบบการหมุนเวียนของสินค้า หากสินค้ามีจำนวนมาก และหมุนเวียนเร็ว หมายความว่า ต้องมีการนำเข้าและเบิกจ่ายถี่มาก รถยกต้องมีขีดความสามารถในการทำงานหนักได้ตลอดเวลา หรือต้องใช้ชั้นวางที่มีลักษณะกึ่งอัตโนมัติ หรืออัตโนมัติ ที่ควบคุมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ชนิดสินค้าต้องหมุนเวียนแบบ FIFO หรือ LIFO ก็มีส่วนสำคัญอย่างมากในการเลือกชั้นวางต่างกัน เช่น LIFO อาจเลือกแบบ Drive-in หรือ Push Back แต่ถ้าต้องการแบบ FIFO อาจเลือกแบบ Selective หรือ Flow เป็นต้น

บนพื้นฐานปัจจัยข้างต้น หลักคิดพื้นฐานประการหนึ่ง ที่เป็นทางเลือกใหญ่เวลาเลือกชนิดชั้นวาง ก็คือ จะเน้น Density (ความหนาแน่น) หรือ Accessibility (ความคล่องตัวในการเข้าถึง) ซึ่งจะนำไปสู่การเลือกชนิดได้อย่างเหมาะสม

เป็นชั้นวางที่มากด้วยประโยชน์ใช้สอยสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้หลากหลาย สำหรับวางสินค้าหน้าร้าน สต๊อกหลังร้าน และคลังสินค้าทั่วไป หรือวางวัตถุดิบเพื่อรอการผลิต วางอะไหล่ เครื่องมือทุกชนิด หรือจัดเก็บเอกสารต่างๆในสำนักงาน รับน้ำหนักได้ 100-400 กก. ต่อชั้น

เป็นชั้นวางสินค้าที่มากด้วยประโยชน์ใช้สอย ช่วยเพิ่มพื้นที่ในการจัดเก็บด้านบน ชั้นวางปูด้วยแผ่นไม้ สำหรับวางเพื่อโชว์และเพื่อขายสินค้า, ใช้เก็บสต๊อกสินค้าเพื่อรอการขายและใช้งาน สำหรับสโตร์โรงงาน คลังสินค้า ร้านฮาร์ดแวร์ หรือ ร้านค้าส่ง รับน้ำหนักได้ 500 ก.ก. ต่อชั้น

เป็นชั้นวางสินค้าที่มากด้วยประโยชน์ใช้สอย สำหรับวางเพื่อโชว์และเพื่อขายสินค้า, ใช้เก็บสต๊อกสินค้าเพื่อรอการขายและใช้งาน, สำหรับสโตร์โรงงาน, คลังสินค้า, ร้านฮาร์ดแวร์, ร้านค้าส่ง, ฯลฯ สามารถวางได้ทั้งสินค้าแบบกล่องและสินค้าที่วางบนพาเลท ทำให้มีความยืดหยุ่นในการบริหารพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า พื้นชั้นวางสินค้าสามารถเลือกวัดสดุในการปูได้หลากหลายเช่น ไม้อัด เหล็ก หรือตะแกรงเหล็ก โครงสร้างทำเป็น 2 ชั้นได้ ช่วยเพิ่มพื้นที่ในการจัดเก็บด้านบน รับน้ำหนักได้ 500-3,000 กก. ต่อชั้น

เป็นชั้นวางสินค้าที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย สำหรับวางสินค้าที่วางบนพาเลท สามารถเลือกตักสินค้าชิ้นใดได้ โดยไม่จำเป็นต้องเรียงสินค้าก่อนหลัง แต่ละชั้นสามารถกำหนดระยะห่างได้ตามความต้องการ จึงเป็นชั้นวางที่มีความยืดหยุ่น เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและคลังสินค้าทั่วไป สามารถออกแบบได้ตามความเหมาะสมของพาเลทที่วางสินค้าและพื้นที่ของคลังสินค้า ทั้งด้านความลึก ความกว้าง และความสูง รับน้ำหนักได้ 1 – 5 ตัน ต่อชั้น

เป็นชั้นวางที่ออกแบบให้วางสินค้าตามแนวลึก ประหยัดพื้นที่ได้มากถึง 50-80% เหมาะสำหรับจัดเก็บสินค้าประเภทเดียวกันในแต่ละช่อง ระบบชั้นวางแบบ Drive-In ยังสามารถจัดเก็บในรูปแบบเข้าด้านหน้าและออกด้านหลังได้ โดยเว้นช่องทางเดินด้านหลังสำหรับรถยกเวลาเบิกจ่าย (ระบบ Drive-Through) ทำให้สินค้าหมุนเวียนได้แบบ First-In First-Out รับน้ำหนักได้ 1 – 5 ตัน ต่อชั้น

เป็นชั้นวางสินค้าที่ออกแบบเฉพาะสำหรับจัดเก็บสินค้าที่มีความยาวมากหรือมีลักษณะวงแหวน เช่น เหล็กกล่อง ท่อ แผ่นไม้ แกนเพลา ฯลฯ ช่วยเพิ่มความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า และช่วยให้ค้นหาสินค้าได้สะดวกยิ่งขึ้น รับน้ำหนักได้ 1 – 5 ตัน ต่อชั้น

เป็นชั้นวางสินค้าที่ออกแบบเฉพาะสำหรับจัดเก็บสินค้าที่มีความยาวมากหรือมีลักษณะวงแหวน เช่น เหล็กกล่อง ท่อ แผ่นไม้ แกนเพลา ฯลฯ สำหรับโหลดสินค้าด้านข้าง ช่วยเพิ่มความสะดวกและเป็นระเบียบเรียบร้อยในการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า และช่วยให้ค้นหาสินค้าได้สะดวกยิ่งขึ้น รับน้ำหนักได้ 1 – 5 ตัน ต่อชั้น

เป็นชั้นวางสินค้าที่ออกแบบเฉพาะสำหรับสินค้าที่มีน้ำหนักมาก แต่มีขนาดเล็กและปานกลาง เช่น แม่พิมพ์ต่างๆ เครื่องจักร เหล็กตัน หรือชิ้นงานที่ไม่ใหญ่ แผ่นชั้นสามารถเลื่อนเข้า-ออกได้ สะดวกในการหยิบจับชิ้นงาน ชั้นวางลักษณะนี้ เหมาะกับการใช้รอกหรือเครนในการยก รับน้ำหนักได้ 500-4,000 ก.ก./ชั้น

เป็นชั้นลอยอเนกประสงค์ที่ประกอบด้วยโครงสร้างเหล็กที่แข็งแรง รับน้ำหนักได้สูง ประกอบและติดตั้งง่าย สามารถต่อเติม รื้อถอน ดัดแปลง เพื่อย้ายไปติดตั้งในพื้นที่อื่นได้อย่างสะดวก เหมาะสำหรับการเพิ่มพื้นที่ใช้สอย โดยไม่ต้องต่อเติมอาคาร รับน้ำหนักได้ 250 - 1,000 กก./ตารางเมตร

ชุตินันท์ หงษ์ทอง, Author

Post a Comment