เตียงนอนและฟูกที่นอน เป็นอุปกรณ์สำคัญอันดับต้น ๆ ที่ช่วยให้ผู้สูงอายุ มีคุณภาพการนอนที่ดี นอนหลับได้อย่างเพียงพอ ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุ มีสุขภาพที่ดีตามไปด้วย อีกทั้งยังช่วยให้กระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายของผู้สูงอายุ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นการเลือกซื้อ เตียงนอนผู้สูงอายุ และฟูกที่นอน จึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงฟังก์ชันการใช้งาน รูปแบบที่เหมาะสม และปลอดภัยกับผู้สูงอายุมากที่สุด

การเลือกเตียงนอน หรือเตียงผู้ป่วย สำหรับผู้สูงอายุ นอกจากฟังก์ชันการใช้งานหรือการปรับระดับแล้ว ควรพิจารณาจากสภาพร่างกายของผู้สูงอายุเป็นหลักด้วย เพราะในผู้สูงอายุที่ลุกยาก หรือมีความจำเป็นต้องใช้รถเข็นผู้ป่วย การใช้เตียงนอนที่มีลักษณะเฉพาะ ในการอำนวยความสะดวกและเพิ่มความปลอดภัย ให้กับผู้สูงอายุเหมาะสมมากกว่า

เตียงนอนที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ควรมีความกว้างไม่มากและไม่น้อยเกินไป ประมาณ 3 – 3.5 ฟุต พอให้ผู้สูงอายุสามารถพลิกตัว ลุกขึ้นนั่งในอิริยาบถต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนเสื้อผ้า การรับประทานอาหารบนเตียง และการอ่านหนังสือ เป็นต้น โดยขนาดความยาวของเตียงนอนผู้สูงอายุควรอยู่ที่ 180 เซนติเมตร ขึ้นไป ซึ่งเป็นขนาดความยาวที่เหมาะสมและไม่ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกอึดอัด

ความสูงของเตียง มีผลต่อความปลอดภัยกับผู้สูงอายุ โดยความสูงที่เหมาะสม สำหรับเตียงนอนผู้สูงอายุ ไม่ควรเกิน 40 เซนติเมตร หรือความสูงประมาณข้อพับเข่าของผู้สูงอายุ เพื่อที่เวลาลุกขึ้นนั่ง หรือลุกจากเตียง เท้าของผู้สูงอายุจะได้วางถึงพื้นพอดี เพราะหากเตียงมีความสูงจนเกินไป อาจทำให้ผู้สูงอายุเสียการทรงตัว เนื่องจากเท้าไม่สามารถสัมผัสพื้นได้อย่างพอดี เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหกล้มตามมาได้

ราวข้างเตียง จะช่วยให้การลุกจากเตียง หรือลุกทำกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้สูงอายุเป็นไปได้สะดวกขึ้น ช่วยในการจับพยุงตัวลุกขึ้นจากเตียง ช่วยให้ผู้สูงอายุ สามารถทรงตัวได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังช่วยป้องกันการพลัดตกเตียงของผู้สูงอายุ เวลานอนหลับได้ โดยราวข้างเตียงควรเลือกที่สามารถพับเก็บแนบลงไปกับเตียงได้ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน

ขอบเตียง ควรมีความแข็งแรงพอ สำหรับรับน้ำหนักราวจับ และวัสดุของเตียง ควรเป็นเตียงที่มีพื้นผิวเรียบ และไม่มีเหลี่ยมแหลม เพื่อความปลอดภัยของผู้สูงอายุ

เตียงสำหรับผู้สูงอายุที่ดี ควรเลือกเตียงที่มีช่องว่างใต้เตียง เพื่อให้ผู้สูงอายุ สามารถสอดเท้าเข้าไปได้ ป้องกันการเตะเตียง หรือในกรณีที่ผู้สูงอายุเกิดอาการ หน้ามืด วิงเวียนศีรษะเมื่อลุกจากเตียง จะได้มีพื้นที่พอสำหรับการทรงตัว และช่วยป้องกันไม่ให้หกล้มได้

เตียงนอนควรมีหัวเตียงและปลายเตียง เพื่อให้ผู้สูงอายุใช้จับพยุงตัวเวลาเดินมาที่เตียง และปลายเตียงช่วยป้องกันไม่ให้ฟูกนอนขยับหรือหล่นลงพื้น

ทั้งนี้ การเลือกที่นอนสำหรับผู้สูงอายุ จะเลือกแบบธรรมดาหรือแบบไฟฟ้า ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ใช้งานเอง ซึ่งเตียงนอนผู้สูงอายุแบบไฟฟ้าเอง ก็มีคุณบัติครบตามข้างต้นที่กล่าวมาทั้งหมด แต่หากจะเลือกใช้เตียงธรรมดา ก็ควรเลือกที่แบบที่สามารถติดตั้งราวข้างเตียงได้ มีความสูงที่พอดีเข่า และคุณสมบัติเหมือนกับที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อให้สะดวกและปลอดภัยกับผู้สูงอายุ

• สามารถปรับระดับความต่ำ ให้เท้าของผู้สูงอายุสัมผัสพื้นอย่างพอดี และมีราวข้างเตียงที่ช่วยในการยึดจับ พยุงตัวของผู้สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงอายุ ทรงตัวได้อย่างมั่นคง และลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุหกล้ม พลัดตกเตียงได้ และเตียงนอนผู้สูงอายุรุ่น Floore ของเราก็มีฟังก์ชันพิเศษ ไฟใต้เตียง ช่วยอำนวยความสะดวก ความปลอดภัยของผู้สูงอายุ ในเวลากลางคืน

• เพราะเตียงนอนผู้สูงอายุแบบไฟฟ้า มีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการปรับพนักพิงหลัง ปรับชันเข่า หรือปรับท่านั่ง ได้อย่างง่ายดายเพียงกดปุ่มที่รีโมท ช่วยเบาแรง ไม่ต้องออกแรงมากให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

• เพิ่มความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง เพราะหากเป็นการใช้เตียงธรรมดา ในผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ การลุกขึ้นนั่งหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ อาจต้องอาศัยผู้ดูแลคอยช่วยประคอง แต่เมื่อเทียบกับการใช้เตียงแบบไฟฟ้าแล้ว ผู้สูงอายุสามารถปรับท่าต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องอาศัยผู้ดูแลคอยช่วย เช่น การปรับท่านั่ง สำหรับนั่งทานข้าว หรือดูTV

โดยปกติแล้ว ผู้สูงอายุมักมีอาการปวดหลัง ปวดข้อต่าง ๆ ตามร่างกาย เนื่องมาจากการเสื่อมถอยไปตามเวลาของกระดูกสันหลัง และข้อส่วนต่าง ๆ การเลือกที่นอนจึงควรดูความเหมาะสมของผู้สูงอายุเป็นหลัก หากใช้ที่นอนไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของร่างกายเพิ่มขึ้นได้ ฟูกที่นอนที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ จะช่วยให้ผู้สูงอายุได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และบรรเทาอาการปวดหลังได้ โดยที่นอนที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ควรมีลักษณะดังนี้

• ที่มีคุณสมบัติในการรองรับสรีระทุกส่วนของร่างกาย ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และมีความยืดหยุ่นสูง รองรับน้ำหนักบริเวณสะโพก และกระดูกสันหลังได้ดี เช่น ที่นอนยางพารา ที่นอนสปริง และที่นอนโฟม เป็นต้น

• ที่นอนที่มีความนุ่มจนเกินไป อาจไม่เหมาะสมนัก ดังนั้น จึงควรเลือกที่นอนที่มีความหนาแน่นพอดี ไม่หนาและไม่นิ่มจนเกินไป

• ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ควรให้เหลือพื้นที่ว่างรอบเตียง ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านข้างซ้าย – ขวา และปลายเตียงให้มีพื้นที่อย่างน้อย 90 เซนติเมตร เพื่อความสะดวกในการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็น เช่น รถเข็นวีลแชร์ และควรมีพื้นที่ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 150 เซนติเมตร เพื่อให้สามารถกลับรถเข็นได้สะดวก

• สำหรับ 1 คน ควรมีพื้นที่อย่างน้อย 10 – 12 ตารางเมตร ไม่รวมพื้นที่ในห้องน้ำ และสำหรับผู้สูงอายุ 2 คน ควรมีพื้นที่ในห้องนอนอย่างน้อย 16 – 20 ตารางเมตร เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอ สำหรับทำกิจกรรมงานอดิเรกต่าง ๆ และพักผ่อน

เตียงนอนผู้สูงอายุ ที่เหมาะสมต้องช่วยอำนวยความสะดวก และความปลอดภัย ระดับความสูงต้องไม่เกิน 40 cm มีราวข้างเตียง เพื่อใช้พยุงตัวและป้องกันการพลัดตกเตียง ขนาดของเตียงนอนที่เหมาะสม คือ 3 – 3.5 ฟุต เพื่อความสะดวก และลดการออกแรงมากในการลุกจากเตียง ฟูกที่นอน ควรเลือกจากความเหมาะสมของผู้สูงอายุเป็นหลัก สามารถรองรับสรีระทุกส่วนของร่างกาย ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และมีความยืดหยุ่นสูง รองรับน้ำหนักบริเวณสะโพก และกระดูกสันหลัง ได้เป็นอย่างดี

ชุตินันท์ หงษ์ทอง, Author

Post a Comment